ACTIVITIES

โครงการปัจฉิมนิเทศ ประจำปีการศึกษา 2567

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จัดโครงการปัจฉิมนิเทศผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ (หัวหน้าภาควิชาฯ) พร้อมด้วยอาจารย์ประจำภาควิชาให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังคำแนะนำจากวิทยากร เพื่อให้ได้รับประโยชน์หลังจากสำเร็จการศึกษาพร้อมก้าวไปสู่วัยทำงาน

ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2567

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ (หัวหน้าภาควิชาฯ) พร้อมด้วยอาจารย์ประจำภาควิชาและบุคลากรกล่าวตอนรับนิสิตใหม่ พร้อมแนะนำเรื่องต่างๆ

เข้าพบอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สร้างความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและด้านการวิจัย

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมทั้งคณาจารย์สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี ได้เดินทางเข้าพบ นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมดีบุก กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทั้งนี้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องจากกรมฯ ได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและด้านการวิจัยระหว่างทั้งสองหน่วยงาน

เข้าพบอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567  รศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เข้าพบ นายวรากร พรหโมบล อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ การปรับปรุงหลักสูตรและความร่วมมืองานวิจัย และร่วมหารือแลกเปลี่ยนนโยบายด้านเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) ระหว่างภาควิชาวิศกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมและกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  

เข้าพบเจ้ากรมการพลังงานทางทหารเพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลและตัวอย่างน้ำจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567  รศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม รศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมคณาจารย์ภาควิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพบ พลโทอภิชาติ ไชยะดา เจ้ากรมพลังงานทหาร เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลและตัวอย่างน้ำจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบภายใต้การดำเดินงานโครงการวิจัย Assessing Thailand Framework for CCS Policy ทั้งนี้ยังมีการพูดคุยเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย และร่วมหารือแลกเปลี่ยนนโยบายด้านเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) ระหว่างคณะวิศวกรรมกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมการพลังงานทหาร

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในอนาคตพร้อมทั้งได้บรรยายงานวิจัยในหัวข้อ Integrated Fluid and Reservoir Characterization for Enhancing Heavy Oil Recovery via Hybrid Solvent-Steam Injection

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2567 Prof. Dr. Daoyong Tony Yang จากภาควิชาวิศวกรรมระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยรีไจนา ประเมทศแคนาดา ได้เดินทางมาเยี่ยมชมภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม และเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในอนาคตพร้อมทั้งได้บรรยายงานวิจัยในหัวข้อ Integrated Fluid and Reservoir Characterization for Enhancing Heavy Oil Recovery via Hybrid Solvent-Steam Injection โดยมี รศ.ดร. เกรียงไกร มณีอินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย การดักจับ ขนส่ง ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นใต้ดิน (Carbon Dioxide Capture, Transportation, Subsurface Utilization and Storage Research Center) และคณาจารย์ในภาควิชาฯ ให้การต้อนรับ

โครงการทัศนศึกษาและเยี่ยมชมแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

เมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดทัศนศึกษาและเยี่ยมชมแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมความรู้ทางวิชาการและประกอบการเรียนการสอน ณ ศูนย์วิจัยสำรวจและผลิด ปตท สผ. อยุธยา บริษัท ปตท สผ. โครงการ สุพรรณบุรี และ แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จ.ขอนแก่น เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานและนำมาประยุกต์ใช้

ทัศนศึกษาดูงานของนิสิตสาขาวิชาทรัพยากรธรณี ประจำปีการศึกษา 2566

เมื่อวันที่ 18 – 21 เมษายม 2567 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดทัศนศึกษาด้านเทคโนโลยีและกระบวนการแต่งแร่ เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมความรู้ทางวิชาการและประกอบการเรียนการสอน ณ บริษัท สินแร่สาคร จำกัด และ ศูนย์การเรียนรู้บ้านทองเม็ด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานและนำมาประยุกต์ใช้

Chevron Thailand donates textbooks to department

On Monday January 15, 2024, Khun Surat Thurachen and Khun Chongko Sotipalalit, Chevron Thailand Exploration and Production representatives, visit and donate SPE textbooks to Department of Mining and Petroleum Engineering. Our department is grateful for Chevron Thailand contribution to our student development and research.



ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ให้การตอนรับน้องๆ จากค่ายลานเกียร์

เมื่อวันที่ 4 – 6 มกราคม 2567 ภาควิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ให้การตอนรับน้องๆ จากค่ายลานเกียร์โดยให้น้องๆ เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการภาควิชาฯ พร้อมให้ความรู้และพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลภาควิชาฯ โดนได้รับความสนใจจากน้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จัดสัมมนาเยี่ยมชม Hanoi University of Mining and Geology ประเทศเวียดนาม

เมื่อวันที่ 19 – 21 ธันวาคม 2566 ภาควิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมคณาจารย์และบุคลากรประจำภาควิชาฯ ได้รับเกียรติจาก Hanoi University of Mining and Geology และ Institute for Technology of Radioactive and Rare Elements (ITRRE) ประเทศเวียดนาม ให้เข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยพร้อมแลกเปลี่ยนและพูดคุยเกี่ยวกับการทำการศึกษาวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนนิสิตฝึกงาน รวมไปถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ที่จะสามารถรดำเนินการร่วมกันได้ในอนาคต

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาประจำปี 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ให้การตอนรับนิสิตแลกเปลี่ยนฝึกงานจากประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ภาควิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาฯได้ต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Kazutoshi Haga และ Assoc. Prof. Dr. Sanghee Jeon จาก Department of Earth Resource Engineering and Environmental Science, Graduate School of International Resource Sciences, Akita University ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยนิสิตแลกเปลี่ยนฝึกงานจำนวน 10 คน ซึ่งจะมาเรียนรู้กับทางภาควิชาฯ ทั้งในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และภาคสนาม

ทัศนศึกษาดูงานของนิสิตสาขาวิชาทรัพยากรธรณี ประจำปีการศึกษา 2565

เมื่อวันที่ 19 – 22 มีนาคมคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดทัศนศึกษาดูงานของนิสิตสาขาวิชาทรัพยากรธรณี ณ กฟผ. แม่เมาะ ลำปาง บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) จ.พิจิตร และ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (เขาวง) จ.สระบุรี เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานและนำมาประยุกต์ใช้

มิตซุย ออยส์ เอ็กซโปลเรชั่น คัมปะนี ลิมิเต็ด (โมเอโกะ) มอบทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2565

เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566 มิตซุย ออยส์ เอ็กซโปลเรชั่น คัมปะนี ลิมิเต็ด (โมเอโกะ) โดยนายเคน ทาคากิ ผู้จัดการทั่วไป สำนักกรุงเทพ ได้มอบทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งสิ้น 8 ทุน ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับจำนวน 2 ทุน ได้แก่ นางสาววิศรุตา คำปาเชื้อ นิสิตชั้นปีที่ 2 และ นายภวัต โหรวิชิต นิสิตชั้นปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก คุณฤทัย วัฒนวรรณ รักษาการเลขานุการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคุณประไพ นำธวัช ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นพยานในการมอบทุนในครั้งนี้

tNavigator™ Software Donation from Rock Flow Dynamic to Chulalongkorn University

January 18, 2023, Rock Flow Dynamic (RFD) has kindly donated 25 licenses of the tNavigator™ software suite to our department, commercial equivalent of which is US$4,000,000 (around 132 million baht) for 2023 academic year.

tNavigator™ is the first and only product on the market, which dynamically combines fully interactive 3D graphical user interface and a record breaking parallel supercomputing engine. The corealgorithms are based on the latest scientific developments in the field and provide the most efficient use of the modern computing platforms. As a result, tNavigator provides superior performance and unparalleled user efficiency for reservoir engineers at the corporate reservoir simulations centers and in the field.

The software suite is a holistic petroleum production forecast, optimization and analysis toolkit available. It provides a platform for integrating petroleum production network: surface equipment – nodal analysis, geological modelling, PVT analysis and reservoir & compositional simulation.

Department of Mining and Petroleum Engineering, Faculty of engineering, Chulalongkorn University would like to sincerely thank RFD for this generous donation, which will strongly support our research, learning, and student development.

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาฯ พร้อมคณาจารย์และบุคลากรประจำภาควิชาฯ ได้รับเกียรติจาก Faculty of Geo-resources and Geo-technical Engineering, Institute of Technology of Cambodia และ Kampot Cement Co., Ltd. (บริษัทในเครือ SCG) ประเทศกัมพูชา ให้เข้าเยี่ยมชมกิจการการทำเหมืองหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ของบริษัทฯ และพูดคุยเกี่ยวกับการทำการศึกษาวิจัยร่วมกัน แลกเปลี่ยนนิสิตฝึกงาน รวมไปถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ที่จะสามารถรดำเนินการร่วมกันได้ในอนาคต ระหว่างวันที่ 19 – 21 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2566 ทั้ง 2 ภาควิชาฯ จะมีความสัมพันธ์ร่วมกันครบปีที่ 10

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม ร่วมให้การต้อนรับคณาจารย์จาก Faculty of Engineering Universitas Islamic Riau ประเทศอินโดนีเซีย โดยการเข้าพบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในเรื่องการส่งเสริมเรื่อง นิสิตแลกเปลี่ยน ตลอดจนการให้ข้อมูลด้านการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และกิจกรรมระดับนานาชาติในอนาคตทีหน่วยงานสามารถดำเนินการร่วมกันได้

On the 6th of December 2022, Associate Professor Dr. Jirawat Chewaroungroaj, the head of department of Mining and Petroleum Engineering together with Assistant Professor Dr. Falan Srisuriyachai, the lecturer of Petroleum Engineering program welcomed academic visitors from the Faculty of Engineering, Universitas Islamic Riau, Indonesia. The major goal of this visit is to promote the exchange program, to provide information regarding the study in graduate level and also the international activities in up-coming future that both institution can collaborate.

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้ต้อนรับนิสิตจาก Akita University ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 6 คน พร้อมทั้ง Assist. Prof. Kazunori Abe และ ผศ.ดร.ลัดดา แต่งวัฒนานุกูล จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ในการศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิศวกรรมปิโตรเลียมในวันที่ 29 กันยายน ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ.2565

SPE Chulalongkorn University Student Chapter
ได้จัดกิจกรรม “OIL AND GAS INSIGHT SHARING” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 โดยเชิญคุณนก เจ้าของเว็บไซต์ Nongferndaddy.com มาแชร์ประสบการณ์ในอุตสาหกรรม Upstream Oil and Gas Industry ให้แก่นิสิตจุฬาฯ

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด อาจารย์ประจำภาควิชาฯ ที่ได้รับทุนวิจัยมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประจำปี 2565 ในงาน The 30th Special CU-af Seminar 2022 “Research to Excellence for Sustainability” ในวันที่ 2 กันยายน 2565

ภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้รับนิสิตแลกเปลี่ยนฝึกงานจำนวน 7 คนจาก Division of Sustainable Resources Engineering, Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาดูงาน ทำวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 31 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด ได้นำนิสิตแลกเปลี่ยนดังกล่าว ทัศนศึกษา ณ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร. ล้านนา) , บริษัท เชียงใหม่ทิน-ทังสเตน จำกัด , เหมืองแร่ยิปซัม บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ , บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ประจำปีการศึกษา 2556 โดยมี ผศ.ดร.จิรวัฒน์ ชีวรุ่งโรจน์ (หัวหน้าภาควิชาฯ) พร้อมด้วยอาจารย์ประจำภาควิชาและบุคลากรกล่าวตอนรับนิสิตใหม่ พร้อมแนะนำเรื่องต่างๆ ในการใช้ชีวิตบนรั้วมหาลัย

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จัดสัมมนาระดับภาควิชาประจำปี 2565 เรื่อง “โครงการสัมมนาในกำรจัดทำกลยุทธ์ของภาควิชา” ณ เดอะไทด์ รีสอร์ท
จังหวัด ชลบุรี เมื่อวันที่ 1 – 3 สิงหาคม 2565 พร้อมศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และ บริษัท West Management Siam Company Limited เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้ รับรางวัลกระบวนการพัฒนาระบบงาน คณะวิศวฯ จุฬาฯ ประจำปี 2565

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีม CGM Engineering (C=see, G=go (let’s go), M=money)

ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนากระบวนการวางแผนงบประมาณเพื่อเสนอขอและเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี โดยมี นางสิริลักษณ์ แสงละออ เป็นประธานกลุ่ม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2565 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดทัศนศึกษาดูงานของนิสิตสาขาวิชาทรัพยากรธรณี ณ บริษัท แก้วกรุงไทย จำกัด บริษัท ศิลาสากลพัฒนา จำกัด และ บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานและนำมาประยุกต์ใช้

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และภาควิชาชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท เอื้อวิทยา แมชีนเนอรี่ จำกัด เกี่ยวกับการจัดตั้งทุนวิจัยและความร่วมมือในโครงการ Natural Resources Development Project เพื่อมุ่งพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงทรัพยากรมนุษย์ในสาขาวิชา เพื่อให้สามารถก่อประโยชน์สูงสุด ในการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ

เมื่อวันที่ 22-29 ธันวาคม 2564 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเลียม ร่วมกับ ค่ายวิศวพัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมค่ายหออาสาสมัครหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปทำกิจกรรมจิตอาสาโดยทำฝายชะลอน้ำและฝายดักตะกอนร่วมกับชาวบ้าน ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ดังนี้ พื้นที่ชุมชน หมู่ 1 ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 9 จุด แบ่งเป็นฝายชะลอน้ำ กว้าง 11 เมตร จำนวน 1 จุด เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร ฝายดักตะกอน กว้างประมาณ 3 เมตร จำนวน 8 จุด เพื่อชะลอน้ำและดักตะกอนก่อนจะมาถึงฝายใหญ่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง โดยได้ทำการสร้างฝายชะลอน้ำจากวัสดุธรรมชาติร่วมกับทางเจ้าหน้าที่อุทยาน จำนวนรวมทั้งหมด 11 จุด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และฟื้นฟูระบบนิเวศ ให้แก่พื้นที่ป่าโดยได้ทำการส่งมอบฝายดังกล่าวให้กับทางพื้นที่ในวันที่ 28 ธันวาคม 2564 นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต อาจารย์.ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเลียมนิสิต เจ้าหน้าที่กิจการนิสิต เจ้าหน้าที่ภาควิชาและนิสิต โดยมี นายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ นายอุดม เชียงยศ นายกเทศมนตรีตำบลก้อ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆและชาวบ้านเป็นผู้รับมอบ

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564  ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดย ผศ. ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม และ  อาจารย์ ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้ให้การต้อนรับครูและนักเรียนจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โดยการมาเยือนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อมูลหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะฯ พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องสมุด ห้อง MI Center ห้องปฏิบัติการของ ISE และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้แก่ นายสันติภาพ พูลสวัสดิ์ นางสาวธวัลรัตน์ แก้วงาม นายณัชคุณ ธีรกิจโกศล และนายนาวิก ศรีอุปัชฌาย์ โดยมี อาจารย์ ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 และ รางวัล Popular Vote จากการประกวดคลิปวิดีโอโครงการจัดการเศษโลหะอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “รีไซเคิลเศษโลหะอย่างไร ให้ห่างไกล U-POPS” ในโครงการงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ Green Scrap Metal Thailand 2020: Today for Tomorrow ภายใต้โครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain Through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563

วันที่ 6 มีนาคม 2563  ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มาเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการหินและห้องปฎิบัติการปิโตรเลียม ในโครงการการเรียนการสอนของภาควิชาฯ โดยมี ผศ.ดร.ฟ้าลั่น ศรีสุริยชัย ให้การตอนรับพร้อมแนะนำการใช้ในห้องปฎิบัติการ

มื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ทางภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เชิญ นายปรินทร์ หันทนนท์ และ นางสาวสุรางค์ การช่าง ศิษย์เก่าของภาควิชาฯ ซึ่งปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ที่ บริษัท Waste Management Siam Ltd. มาเป็นวิทยากรพิเศษ ในหัวข้อ “Potential of Resources Recovery and Recycling Projects in Thailand” ให้กับคณาจารย์และนิสิตของภาควิชาฯ

เมื่อวันที่ 15 – 17 มกราคม 2563 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เปิดบ้านต้อนรับน้องๆ เยี่ยมชมการสาธิตการใช้เครื่องมือในห้องปฎิบัติการเหมืองแร่และปิโตรเลียม ภายในงานค่ายลานเกียร์ครั้งที่ 19 เพื่อที่จะได้มาเรียนรู้ทั้งการฝึกวิธีการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และความเป็นผู้นำให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 13 – 16 มกราคม 2563 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมได้โครงการทัศนศึกษาและเยี่ยมชมแหล่งปิโตรเลียม ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม และนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียมเข้าร่วม

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม นำนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาทรัพยากรธรณี จำนวน 6 คน เข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการ (Mining Camp) ซึ่งจัดโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยมีนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วม โดยกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 13- 17 มกราคม 2563

 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ทางภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานสัมมนาวิชาการด้านทรัพยากรธรณี สิ่งแวดล้อม และกระบวนการนำทรัพยากรกลับมาใช้ ภายในชื่อโครงการ The 7 Joint Serminar on Gro-environmental Engineering and Recycling GER 2019 ณ ตึก วิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณาจารย์และนิสิต นักศึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี และ มหาลัยต่างๆ จากประเทศ จีน ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐเกาหลี นอกจากนี้ยังมีการศึกาาดูงาน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 อีกด้วย

 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ทางภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการทัศนศึกษาด้านเทคโนโลยีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมความรู้ทางวิชาการและประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา 2106415 Resources Recovery and Recycling ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีคณาจารย์และนิสิตปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี ชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงาน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม – 16 กันยายน 2562 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอกไกโด (Hokkaido University) ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตฝึกงาน ได้จัดกิจกรรมให้นิสิตแลกเปลี่ยนจากประเทศญีปุ่น ได้มีโอกาสเข้าฝึกงานที่ แผนกเหมือง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และบริษัทเหมืองแร่พนมทวน จำกัด อำเภอพนวทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยเน้นให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงานและนำหลักทฤษฎีที่เรียน มาประยุกต์ใช้

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดพิธีไหว้ครูประจำปี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เป็นประธาน รวมถึงคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม เพื่อให้นิสิตปัจจุบันได้มีโอกาสแสดงความเคารพ  แด่คณาจารย์ รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตเก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วได้มีโอกาสกลับมาพบปะพูดคุยกับรุ่นน้องและคณาจารย์อีกด้วย

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 Prof. Shuji Owada จาก Faculty of Science and Enginnering, Waseda University, Japan ให้เกียรติมาเยือนภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เพื่อหารือความร่วมมือด้านการเรียนการสอนและงานวิจัย พร้อมกับบรรยายผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Next Generation Resources Recycling Technology โดยเน้น Smart Communication and Smart Sorting ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำกลับคืนทรัพยากร และประหยัดพลังงานมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับเทคโลโลยีดังเดิม

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2561 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย ได้จัดทัศนศึกษา เยี่ยมชมบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) โดยมีนิสิตวิศวกรรมทรัพยากรธรณีชั้นปีที่ 4 และนิสิตปริญญาโทของภาควิชาเข้าร่วม

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย ได้จัดทัศนศึกษา เยี่ยมชมบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (โรงงานเขาวง) จำกัด จังหวัดสระบุรี โดยมีนิสิตวิศวกรรมทรัพยากรธรณีชั้นปีที่ 4 และนิสิตปริญญาโทของภาควิชาเข้าร่วม

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2561 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย รวมถึงนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาทรัพยากรธรณี จำนวน 5 คน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยมีนายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง (รวช.) เป็นประธาน เข้าร่วมโครงการค่ายวิชาการเหมืองแร่ (Mining Camp) รุ่นที่ 12 โดยมีนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งหมด 23 คน  เข้าร่วมทำกิจกรรมพร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมให้การต้อนรับ โดยกิจกรรมค่ายวิชาการเหมืองแร่จัดขึ้นในวันที่ 8-12 มกราคม 2561 ที่ กฟผ. แม่เมาะ โดยเน้นการเรียนรู้ประสบการณ์จากการทำงานจริง

เมื่อวันที่ 20-23 ธันวาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมได้โครงการทัศนศึกษาและเยี่ยมชมแหล่งปิโตรเลียม ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เป็นประธาน รวมถึงคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม รวมถึงคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ ให้การต้อนรับคณาจารย์และนิสิต จาก The Technological University, Mandalay ประเทศพม่า

เข้าเยี่ยมชมโรงปฏิบัติการ การแต่งแร่ ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี

เมื่อวันที่ 28-29 ตุลาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย และนิสิตวิศวกรรมทรัพยากรธรณีชั้นปีที่ 3 ได้จัดทัศนศึกษา

เยี่ยมชมบริษัท ศิลาสมบูรณ์ทรัพย์ จำกัด

ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายหินสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 31สิงหาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดพิธีไหว้ครูประจำปี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เป็นประธาน รวมถึงคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม  เพื่อให้นิสิตปัจจุบันได้มีโอกาสแสดงความเคารพแด่คณาจารย์ รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตเก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วได้มีโอกาสกลับมาพบปะกับรุ่นน้องและคณาจารย์อีกด้วย

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดบรรยายพิเศษหัวข้อ Introduction and preface to sustainability management โดย Mr. Arne Winther จากประเทศนอร์เวย์

เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมได้จัดสัมนาพิเศษในหัวข้อการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ระบบมาตรฐานหลักสูตร ของ TABEE โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เป็นประธาน รวมถึงคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมได้จัดปฐมนิเทศ นิสิตให้ชั้นปี 1 ในสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี และ นิสิตชั้นปีที่ 2 ในสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม

โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม รวมถึงคณาจารย์ประจำสูตรเข้าร่วม  เพื่อแนะนำและชี้แจงเรื่องต่างๆที่สำคัญในการศึกษา

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดบรรยายพิเศษ โดย Assoc. Prof. Dr. Kataro YONEZU จาก Kyushu University

ในหัวข้อเรื่อง Rare Earth Elements and Basic on Economic Geology

วันที่ 2 มีนาคม 2560 เวลา 11.00 ผศ.ดร.สุนทร พุ่มจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรเหมืองแร่ปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ พลโทมงคล จิวะสันติการ รองประธานกรรมการ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นายเจริญ โคตรดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพิเศษเทคนิคเหมืองแร่ ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ได้ริเริ่มและสนับสนุนโครงการนี้เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สนใจศึกษาด้านการเหมืองแร่โดยร่วมมือกับทางวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการผลิตบุคลากร เพื่อเป็นแรงงานที่มีคุณภาพด้านเหมืองแร่หรือสาขาที่เกี่ยวข้องใน “หลักสูตรพิเศษเทคนิคด้านเหมืองแร่” อันเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สถาบันส่งเสริมและยกระดับการศึกษาด้านการเหมืองแร่ไปสู่ระดับสากล ให้กับนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ที่สนใจในการศึกษาสายอาชีพ และยังสามารถต่อยอดการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่าที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อีกทาง ซึ่งจะเป็นหลักสูตรที่เข้ามาช่วยกลุ่มนักศึกษาให้ได้มีโอกาสจบออกมาและมีงานรองรับได้ต่อไป

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย รวมถึงนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาทรัพยากรธรณี จำนวน 5 คน ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยมีนายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง (รวช.) เป็นประธาน เข้าร่วมโครงการค่ายวิชาการเหมืองแร่ (Mining Camp) รุ่นที่ 11 โดยมีนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ซึ่งขอเข้าร่วมสังเกตุการณ์ในครั้งนี้ โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งหมด 23 คน  เข้าร่วมทำกิจกรรมพร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมให้การต้อนรับ โดยกิจกรรมค่ายวิชาการเหมืองแร่จัดขึ้นในวันที่ 9-13 มกราคม 2560 ที่ กฟผ. แม่เมาะ โดยเน้นการเรียนรู้ประสบการณ์จากการทำงานจริง

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม โดย รศ.สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย และนิสิตวิศวกรรมทรัพยากรธรณีชั้นปีที่ 2 ได้จัดทัศนศึกษา เยี่ยมชมบริษัท เคมีแมน จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตแร่และเคมีอุตสาหกรรม โดยแปรสภาพจากแร่ธรรมชาติสู่ผลิตภัณฑ์แร่เคมีพื้นฐาน และเคมีสังเคราะห์

      วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยรองศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ร่วมกับบริษัทโมนาร์ช วิลล์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด โดย นายกษาณฑ์ ปิยาภิมุข กรรมการบริษัท ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการ GREEN MINING

โดยมี หลักการและเหตุผลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศไทยอย่างยั่งยืน เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เพื่อการจำแนกเขตพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรณีออกเป็นเขตเพื่อการสงวน อนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์ พร้อมกับมาตรการหรือทางการบริหารที่ดีแบบ GREEN MINING เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางเหมืองแร่ และการบริหารจัดการพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

เมื่อวันที่ 28-29 กรกฏาคม 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน The ASEAN++ 2016: Towards Geo-resources Education in ASEAN Economic Community

เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม -1 สิงหาคม 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน 5th SOMP Regional Meeting “MINING FOR A SUSTAINABLE FUTURE  Opportunities for Mining Education and Research in the ASEAN region and beyond”

เมื่อวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด

Workshop on Potash Technology Application in Thailand

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ได้จัดบรรยายพิเศษ โดย Prof. Tsutomu SATO จากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ในหัวข้อเรื่อง

Environmental Mineralogy for Management of Hazardous Inorganic Anions – Lessons learnt from processes Nuclear Accident at Fukushima Daiichi NPP What’s happen? What can geological engineer do for our next generation?