ABOUT US

สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี (Georesources Engineering)

หลักสูตรวิศวกรรมทรัพยากรธรณีเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในด้านการนำทรัพยากรธรณีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ทั้งที่ใช้เป็นทรัพยากรเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน เช่น ถ่านหิน หรือที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ทรัพยากรแร่โลหะ แร่อุตสาหกรรม และหิน

โดยมีเป้าหมายให้บัณฑิตวิศวกรรมทรัพยากรธรณี สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อใช้ในงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีการสำรวจแหล่งแร่ การทำเหมืองแร่จากแหล่งทรัพยากรธรณี รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมปลายน้ำ สามารถวิเคราะห์ วิจัย และประเมินผล ของระบบการผลิตแร่จากแหล่งทรัพยากรธรณี ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งแร่ รวมถึงการสร้างแบบจำลองแหล่งแร่ เพื่อการออกแบบการทำเหมืองที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเน้นการศึกษาด้านการใช้ประโยชน์ของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่เหลือทิ้งในอดีต เพื่อนำกลับมาปรับปรุงคุณภาพและใช้ประโยชน์ใหม่ หรือการรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรมการแต่งแร่ ในการแยกสกัดเอาโลหะและวัตถุดิบในส่วนที่มีค่าเชิงพาณิชย์ มาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งแร่ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบปฐมภูมิเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรณีอย่างสมบูรณ์แบบ อันเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากร ลดปริมาณของเสียและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

แนวทางในการประกอบอาชีพ

บัณฑิตวิศวกรสาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร ซึ่งสามารถทำงานได้ตามข้อบังคับของสภาวิศวกร ว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ใน 3 ลักษณะงาน คือ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานตรวจสอบ และงานอำนวยความสะดวกการใช้ ตามประเภทของงาน 4 ประเภท คือ 1) การทำเหมืองแร่ 2) งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิด 3) การแยกวัสดุต่างๆออกจากของที่ใช้แล้วโดยกรรมวิธีการแต่งแร่ และ 4) การแต่งแร่

โดยสามารถทำงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และส่งเสริมอุตสาหกรรมการพัฒนาทรัพยากรธรณี ได้แก่ กรมอุตสากรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถทำงานในรัฐวิสาหกิจและบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ได้จากทรัพยากรแร่ต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • กลุ่มแร่เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ซึ่งมีหน่วยงานที่สำคัญ เช่น เหมืองถ่านหินแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เหมืองถ่านหินของบริษัทบ้านปู จำกัด
  • กลุ่มแร่สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น เหมืองหินปูน ของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศไทย เช่น SCG (Siam cement Group) หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น รวมถึง เหมืองยิปซั่ม เหมืองหินสำหรับหินก่อสร้าง หินอ่อน และหินประดับ
  • กลุ่มอุตสาหกรมมเซรามิก แก้ว และกระจก เช่น เหมืองดินขาว เหมืองแร่เฟลสปาร์ ทรายแก้ว
  • กลุ่มอุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ เช่น เหมืองแร่โพแทช เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ซึ่งมีแนวโน้มที่มีความจำเป็นในอนาคต เช่น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องของการรีไซเคิล บริษัทคัดแยกและหมุนเวียนโลหะจากเศษทิ้งต่างๆ เช่น เศษทิ้งจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิค เป็นต้น

เนื่องจากเป็นภาควิชาที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่มีการศึกษาโดยทั่วไป ทำให้โอกาสของบัณฑิตที่จบในสาขานี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี และสารมารถทำงานในองค์กรระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรธรณีของประเทศอันเป็นปัจจัยการผลิตหลัก เพื่อเป็นการนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อไป

สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineering)

Petroleum engineer is an engineer who exploits petroleum (crude oil and natural gas) as much as possible under the economical limitation. We can classify the major function of petroleum engineer into 3 groups:

  • Drilling engineer: chooses the equipment for the drilling process, assesses the cost of drilling, advices the drilling techniques and also prepares the production wells.
  • Production engineer: produces petroleum from the well as much as possible by using several techniques including mechanical and chemical. Production engineer also has to separate water, oil and gas from each phase that are produced from the same well.
  • Reservoir engineer: calculates the reserve of oil and gas that are producible, calculate the number of wells in production and also choose the method to enhance the petroleum recovery.

Petroleum Engineering program at Chulalongkorn University

  • Petroleum engineering section has been established over 20 years, running inside the department of Mining and Petroleum Engineering, Faculty of Engineering.
  • The aim is to produce engineers to have the knowledge in petroleum engineering and can apply their knowledge to conduct their career in petroleum engineering field.
  • 2 programs of petroleum engineering are offered by the department: Bachelor in Engineering (Thai program around 10 students per year) and Master in Engineering (International program around 5 students per year).
  • Approximately 40 students are studying the undergrad programs (2nd , 3rd and 4th year) and 10 students are studying the grad programs.
  • We have had foreign students from diversified countries, joining our master program such as the Philippines, Myanmar, Cambodia, Vietnam, Bangladesh, Pakistan, USA, France, Spain, Mozambique, Cameroon, etc.
  • In past decade, most students entered the oil and gas business after they graduated from the offered programs.

Job opportunities

Oil companies: Chevron Exploration and Production Thailand, PTTEP, MOECO, Mubadara, Eco Orient, Salamander

Service companies: Schlumberger, Weatherford, Halliburton, Baker Hughes, etc.